วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเพณีลอยกระทง

วันนี้จะมาอัพบทความเรื่องวันลอยกระทงค่ะ เพราะว่านี่ก็ใกล้ถึงวันลอยกระทงแล้ว
ก็เลยอยากจะมาอัพบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้สักหน่อย(คือจริงๆ แล้วอาจารย์สั่ง 5555 ><)

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนามักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน
ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา
บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที
และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชา
พระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ
ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

กระทงจากใบตอง
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูป
คล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผมหรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง
แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล)
เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่า
การลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

ประวัติความเป็นมา

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้
ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง
เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า
"พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป"
 และ
มีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุด
ของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน 


          
ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า 

          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า 

          "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..." 

เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย 

ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง

#เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ 
รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาท
ไว้ที่หาดทรายแม่น้ำนัมมทานทีในประเทศอินเดีย

เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต
ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

คำอธิฐานวันลอยกระทง
อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ
นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง

มุนิโท ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง

แปลว่า ด้วยประทีปนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี
อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น
ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์
และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ.
---------------------------------------ขอบคุณข้อมูลจาก






ปะทีเปนะ มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา
มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น